วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 8
การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

 

ที่มา: http//:www.sakunkanmimt.blogspot.com

 

          การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การรับวัฒนธรรมที่แฝงเข้ามากับแหล่งข่าวสารข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรมของมนุษย์ โดยเฉพาะบนเครือข่ายสารสนเทศซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันทุกมุมโลก การเปิดรับข่าวสารที่มาจากแหล่งข้อมูลดังกล่าวจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ และทัศนคติส่วนบุคคล การรับข้อมูลข่าว สารที่ไม่เหมาะสมส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยเฉพาะ พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ และมีแนวโน้มทำให้เกิดอาชญากรรม ปัญหาทางศีลธรรมและจริยธรรม เช่น อาชญากรรมบนเครือข่าย หรือ การกระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อาชญากรรม 6 ประเภท ได้แก่ จารกรรมข้อมูลทางราชการทหารและข้อมูลทางราชการลับ จากกรรมทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลด้านธุรกรรม จารกรรมเงิน และทำให้เกิดการติดขัดทางด้านพาณิชย์ การโต้ตอบเพื่อการ ล้างแค้น การก่อการร้าย เช่น ทำลายข้อมูล ก่อกวนการทำงานของ ระบบ และเสนอข้อมูลที่ผิดและการเข้าสู่ระบบเพียงเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความสามารถทำได้

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

          การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศจนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว่างขวางกลายเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือยุคข้อมูลข่าวสาร ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติอย่าง มหาศาลนั้นหมายถึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามย่อมมีผลกระทบต่อบุคคล องค์กร หรือสังคม ทั้งนี้สามารถจำแนกผลกระทบทั้งทางบวกและผลกระทบทางลบของการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ดังนี้

ที่มา :www.learners.in.th

ผลกระทบทางบวก

          1) เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร การบริการและการผลิต ชีวิตคนในสังคมได้รับความ
สะดวกสบาย

          2) เป็นสังคมแห่งการสื่อสารเกิดสังคมโลกขึ้น โดยสามารถเอาชนะเรื่องระยะทางเวลา และสถานที่ได้ ด้วยความเร็วในการติดต่อสื่อสารที่เป็นเครือข่ายความเร็วสูง
          3) มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ในฐานข้อมูลความรู้ เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านที่เกี่ยวกับสุขภาพและการแพทย์
          4) เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์ช่วยเหลือคนพิการให้สามารถพัฒนาทักษะและความรู้ได้
          5) พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่ กระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน
          6) การทำงานเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กล่าวคือช่วยลดเวลาในการทำงานให้น้อยลง แต่ได้ผลผลิตมากขึ้น
          7) ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสิ้นค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น

ผลกระทบทางลบ

          1) ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เคยทำอะไรอยู่ก็มักจะชอบทำอย่างนั้นไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
          2) ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม หรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก การแพร่ของ
วัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่งสังคมอีกสังคมหนึ่งเป็นการสร้างค่านิยมใหม่ให้กับสังคมที่รับวัฒนธรรมนั้น

          3) ก่อให้เกิดผลด้านศิลธรรม การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วในระบบเครือข่ายก่อให้เกิดโลกไร้พรมแดน
          4) การมีส่วนร่มของคนในสังคมลดน้อยลง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็วในการสื่อสาร และการทำงาน
          5) การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่มีขีดจำกัดย่อมส่งผลต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
          6) เกิดช่องว่างทางสังคม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวช้องกับการลงทุน ผู้ใช้จึงเป็นชนชั้นในอีกระดับหนึ่งของสังคม
          7) เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทต่อการทำงานมากขึ้นระบบการทำงานต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป
          8) อาชญากรรมบนเครือข่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆขึ้น
          9) ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ นับตั้งแต่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงาน การศึกษา

ที่มา : www.munjeed.com

 

ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

           เราสามารถพิจารณาปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จากการวิเคราะห์ทัศนคติต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ในมุมมองที่แตกต่างกัน ได้ดังนี้

          1. มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์

          เมื่อมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ เครื่องมือบางอย่างก็มีประโยชน์มาก บางอย่างก็มีประโยชน์น้อย และบางอย่างก็ไม่มีประโยชน์ การเลือกใช้เครื่องมือจะส่งผลต่อวิธีการทำงานของมนุษย์ เช่นพฤติกรรมในการเขียนของผู้ใช้โปรแกรมประมวลผลคำจะแตกต่างไปจากผู้ใช้กระดาษ และปากกา เป็นต้น

          2. มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็มีกระทบซึ่งกันและกัน

          ภายใต้มุมมองแบบนี้ มีความเห็นว่าสังคมส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยี ทั้งนี้โดยอาศัยแรงขับเคลื่อนทางวัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ เป็นเหตุปัจจัยในการออกแบบเทคโนโลยียกตัวอย่างเช่น การออกแบบให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆ งานได้ในขณะเดียวกัน มีผลมาจากประเด็นทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ประหยัดทรัพยากรของหน่วยประมวลผลกลาง หรืออีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่ กระแสความต้องการการสื่อสารที่รวดเร็วได้ผลักดันให้เกิดอินเตอร์เน็ตขึ้น

          3. มุมมองว่าเทคโนโลยีเป็นกลไกในการดำรงชีวิตของมนุษย์

          ภายใต้มุมมองในลักษณะนี้จะมองว่าเทคโนโลยีสานสนเทศจะเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น การติดต่อสื่อสารของมนุษย์ จะถูกกำหนดว่าเป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีซึ่งในโลกนี้ก็มีเทคโนโลยีการสื่อสารอย่าหลายรูปแบบแต่เทคโนโลยีที่มีความเสถียร จะเป็นทางเลือกและมนุษย์จะใช้เป็นกลไกในการดำรงชีวิต ดังเช่น คนที่มีและคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ จะแตกต่างจากคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือติดตัว การที่มีโทรศัพท์มือถือแสดงให้เห็นว่าเป็นคนที่สารมารถติดต่อได้สะดวก และเข้าถึงได้ง่ายกว่าคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือติดตัว จะเห็นได้ว่ากลไรการดำรงชีวิตของคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ และไม่ใช้โทรศัพท์มือถือนั้นแตกต่างกัน เช่นเดียวกัน กลไรในการดำรงชีวิตของสังคมที่ใช้อินเตอร์เน็ต ก็จะแตกต่างจากสังคมที่ไม่ใช้อินเตอร์เน็ต เป็นต้น


ที่มา :http//:www.teacher80std.blogspot.com

 

แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

          1. ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม (Ethic) ในตัวผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น
          2. สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพึงรำลึกอยู่เสมอว่าในสังคมของเราวันนี้ยังมีคนไม่ดีปะปนอยู่มากพอสมควรเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือที่จะอำนวยความสะดวกเท่านั้น
          3. ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี แนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าวัฒนธรรมที่ดีไว้ เป็นสิ่งจำเป็นในยุคสารสนเทศ
          4. การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน ผู้รับผิดชอบในการจัดการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและสมาชิกของสังคมพึงตระหนักถึงภัยอันตรายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศแหลหาทางป้องกันภัยอันตรายเหล่านั้น
          5. ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันองค์กรต่างๆ ได้นำเสนอมาตรฐานที่เกี่ยวกับการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ถึงแม้ว่าเจตนาเดิมของมาตรฐานเหล่านี้จะอำนวยประโยชน์ให้กระบวนการด้านการบริหารงาน
          6. ใช้แนวทางการบังคับใช้ด้วยกฎ ระเบียบ และกฎหมาย ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศอาจจะรุนแรง และไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีการอื่น การกำหนดให้ปฏิบัติตามจะต้องระบุข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย

ที่มา :http//:www.tanatfangjan.blogspot.com

ประเด็นพิจารณาการใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

          1. ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และทฤษฎีเรื่องจริยธรรมในปัจจุบันยังมีข้อถกเถียงกันเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในเรื่องที่เกี่ยวกับ ค่านิยม จุดยืน และสิทธิที่บุคคลพึงมีพึงได้ ตัวอย่างเช่น ข้อถกเถียงที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการใช้กล้องวงจรปิด การใช้คุกกี้ในอินเทอร์เน็ต ต่อสิทธิในเรื่องความเป็นส่วนตัวของมนุษย์ หรือข้อถกเถียงในเรื่องผลกระทบจากความแตกต่างในเรื่องชนชั้นทางสังคม ต่อสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล
          2. เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและการเมืองจากมุมมองที่ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็ส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีผู้วิเคราะห์ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศถูกสร้างขึ้นโดยสังคม จึงถูกแฝงประเด็นทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างแยบยล
          3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและความเป็นมนุษย์นอกจากกรณีของเรื่องทัศนคติ อารมณ์ความรู้สึก ที่มีต่ออุปกรณ์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมและการเมืองดังที่กล่าวมาแล้ว ความเกี่ยวข้องกับจริยธรรมและความเป็นมนุษย์ ก็มีส่วนสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะในกรณีของการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมในเรื่องของโลกเสมือนจริง

ที่มา :www.violence.in.th

 

การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

          ในการแก้ไขปัญหาสังคมโดยทั่วไปนั้น การเสริมสร้างจริยธรรมในหมู่สมาชิกในสังคมเป็นทางแก้
ปัญหาที่ถูกต้องและยั่งยืนที่สุด แต่ความเป็นจริงนั้นเราไม่สามารถสร้างจริยธรรมให้กับปัจเจกบุคคลโดยทั่วถึงได้ ดังนั้นสังคมจึงได้สร้างกลไกใหม่ขึ้นไว้บังคับใช้ในรูปแบบของวัฒนธรรมประเพณีทีดีงาม อย่างไรก็ตามเมื่อสังคมมีขนาดใหญ่ขึ้น รูปแบบของปัญหาสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงมีความจำเป็นจะต้องตราเป็นกฎ ระเบียบหรือข้อบังคับ ในลักษณะต่างๆ รวมถึงกฎหมายด้วย ในกรณีของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ก็เช่นกัน การเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตทำให้รูปแบบของปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศมีความหลากหลายและยุ่งยากมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีกลไกในรูปของกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ใช้บังคับ ในประเทศไทยก็ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยได้มีการปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ระบุว่า “รัฐจะต้องพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ”


ที่มา : http//:www.propzpropz.blogspot.com


กรณีศึกษาอาชญากรรมและกฎหมายไอที

           กรณีที่ 1 : นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา เปิด e-mail ลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาอ่านได้หรือไม่?
          ถ้าในประเทศสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาขององค์กรนั้นๆ สามารถเปิดดูและตรวจสอบ e-mail ของลูกจ้างได้รวมทั้งสามารถดูแฟ้มข้อมูลต่างๆ ในฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ของบริษัทได้ หากเป็น e-mail ที่เป็นขององค์กร เพราะเป็น e-mail สำหรับการปฏิบัติงาน แต่หากเป็น e-mail อื่นที่ไม่ใช่ขององค์กร นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดอ่าน หากนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาละเมิดสิทธิ์ ลูกจ้างสมารถฟ้องร้องนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาให้ชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งได้

          กรณีที่ 2 : การ Copy รูปภาพ/ข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทุกกรณีหรือเปล่า?
          หากต้องทำการ copy รูปภาพหรือข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้งาน จำเป็นต้องขออนุญาตเจ้าของเสียก่อน เพราะหากนำมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ผิดกฎหมาย หากนำไปใช้เพื่อการค้าอาจถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาได้ อย่างไรก็ตามก็มีข้อยกเว้นสำหรับกรณีเพื่อการศึกษา โดยต้องมีการอ้างอิงและขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์

          กรณีที่ 3 การหมิ่นประมาททางอินเทอร์เน็ต สามารถฟ้องร้องเอาผิดได้หรือไม่?
          หากมีการหมิ่นประมาทบุคคลผ่านทางอินเทอร์เน็ต สามารถฟ้องร้องได้ทั้งคดีอาญา และคดีแพ่ง ซึ่งตามกฎหมาย การหมิ่นประมาททางแพ่งหมายถึง “ การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนความจริง และการกล่าวหรือไขข่าวนั้นทำให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณ ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของบุคคลอื่น ซึ่งแม้ว่าผู้ที่หมิ่นประมาทจะไม่รู้ว่าข้อความที่ตนกล่าวหรือไขข่าวนั้นไม่จริง แต่หากว่าควรจะรู้ได้ก็ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น”

          กรณีที่ 4 : การทำ Hyperlink ยังไงไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์?
          การอ้างอิงเว็บไซต์ของผู้อื่น มาใส่ไว้ในเว็บของเรา มีโอกาสละเมิดลิขสิทธิ์ หากมีการมองว่าเป็นการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ แต่ถ้าการเชื่อมโยงนั้นเป็นการเชื่อมโยงต่อไปยังหน้าแรกของเว็บผู้อื่นก็สามารถทำได้แต่ควรขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ให้เรียบร้อย หากเป็นการเชื่อมโยงลึกลงไปถึงเนื้อหาส่วนอื่นของเว็บผู้อื่นจะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ในกรณีที่ไม่ต้องการให้ใครนำเว็บของเราไปเชื่อมโยงอาจจะระบุไว้ที่เว็บเลยว่า ไม่อนุญาตจะทำให้ผู้ที่เข้ามาเชื่อมโยง หากยังมีการละเมิดสิทธิ์ก็จะมีความผิดโดยไม่ต้องตีความ

          กรณีที่ 5 : โหลดโปรแกรมหรือเพลงทางอินเทอร์เน็ตผิดกฎหมายหรือเปล่า?
          การ Download โปรแกรมทางอินเทอร์เน็ตมาใช้งานแบบถูกต้องตามกฎหมายโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ก็ต่อเมื่อโปรแกรมที่ผู้ใช้ Download มาใช้นั้น ถูกระบุว่าเป็นประเภท Freeware, Shareware
สำหรับการโหลดเพลงทางอินเทอร์เน็ตสามารถทำได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากได้รับอนุญาต
แต่โดยทั่วไปแล้วค่ายเพลงมักจะไม่อนุญาต ยกเว้นจะทำเพื่อการค้าส่วนการ Upload เพลงขึ้นบนอินเทอร์เน็ตให้คนทั่วไปโหลดได้ฟรีๆ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นคดีอาญา


ที่มา :www.learners.in.th


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น